Skip to main content

คลังสินค้า คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ


    คลังสินค้า คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ

    การประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่างๆ นั้นนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าสินค้าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม คลังสินค้า นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในอันที่จะให้การประกอบธุรกิจค้าขายเกี่ยวกับสินค้าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ วันนี้ SGEPRINT จะกล่าวถึงความสำคัญโดยทั่วไปของคลังสินค้า และความสำเร็จต่อกิจการต่างๆ ไปดูกัน..

    คลังสินค้า (warehouse) หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อน ย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    • วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
    • สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

    คลังสินค้า สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ

    • ช่วยลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด และการใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
    • สร้างความพึงพอใจ ในการทำงานในแต่ละวัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์หลัก 
    • สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตาม ขนาดธุรกิจที่กำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อบริษัทหรือองค์กรด้วยเช่นกัน
    • สามารถปรับปรุงให้สินค้าคงคลังมีความแม่นยำ ลดระยะเวลาในกระบวนการสั่งซื้อ และ ลดความบกพร่องในกระบวนการจัดการภายในคลังสินค้า
    • ปรับปรุงประสิทธิภาพ การให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สะดวกต่อทุกฝ่าย
    • ช่วยในการวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า
    • เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดเก็บสินค้าให้ได้หลากหลายทาง และ สามารถขยายตลาดให้การส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้ไวมากขึ้น

    ประโยชน์ของการจัดการ คลังสินค้า

    • ช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป เป็นการช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า
    • เป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่รายว่าต้องการสินค้าจากโรงงานใดบ้าง
    • เป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลานแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อจัดเป็นขนส่งขนาดใหญ่หรือทำ ให้เต็มเที่ยว ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง
    • ใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อ หรือพาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบ ให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป

    การใช้ระบบ WMS และแนวคิดการบริหารคลังสินค้าที่ดี

    Warehouse Management System (WMS) คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารจัดการคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ของคลังสินค้า ครอบคลุมระบบต่าง ๆ ในคลังสินค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Putaway) การจัดและการเติมสินค้า (Picking & Replenishment) เป็นต้น นอกจากนี้ จากการศึกษาของเพจ Proindsolutions ได้มีการกล่าวถึง แนวคิดบริหารคลังสินค้าแบบลีนคือการตัดอุปกรณ์ กระบวนการ หรือทรัพยากรที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการจัดการคลังสินค้ามากที่สุด อาจนำระบบ 5S เข้ามาปรับใช้ด้วย เช่น..

    ระบบ WMS ที่ดีจะถูกออกแบบเพื่อให้สามารถรองรับการบริหารจัดการ ทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะคลังสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ของกิจการค้าส่ง ค้าปลีก อีกทั้งยังต้องสามารถดัดแปลงเพื่อเชื่อมโยงกับระบบการวางแผนทรัพยากรของ ธุรกิจอื่น ๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรมีอยู่ ในบางครั้งเพื่อลดความสับสน จึงมีการเรียกระบบ WMS ที่สนับสนุนระบบ ERP ว่า Warehouse-focused ERP system

    การจัดระเบียบและแยกหมวดหมู่ (Sort) โดยทำการคัดแยกสิ่งของ จัดระเบียบ แยกหมวดหมู่สิ่งที่ต้องการและไม่ต้องการ อาจมีการนำเครื่องทุ่นแรงอย่างการใช้บาร์โค้ดเพื่อแยกประเภทเข้ามาช่วย และต้องจัดทางเดินให้โล่ง สะอาด เพื่อให้พนักงานทำงานสะดวก
    จัดพื้นที่ให้เป็นระบบ (Straighten)จัดการสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่มีการหยิบมาใช้งานบ่อย ๆ ให้เป็นระบบ มีป้ายหรือสัญลักษณ์บอกทางที่ชัดเจน รวมถึงมีข้อตกลงเรื่องการใช้พื้นที่ร่วมกัน เช่น ปิดเครื่องปรับอากาศตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
    ทำความสะอาดคลังสินค้า (Shine)หลังเสร็จสิ้นการทำงานในแต่ละครั้งควรทำความสะอาดพื้นที่นั้นทันที ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่บ้านหรือรอให้จบวัน
    วางมาตรฐานการทำงาน (Standardize)กำหนดมาตรฐานการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีความปลอดภัย อาจใช้วิธีอบรมพนักงานให้เข้าใจและติดโปสเตอร์หรือติดป้ายเพื่อให้เกิดการทบทวนระเบียบปฏิบัติอยู่เสมอ
    ส่งเสริมให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและติดตามผล (Sustain)ควรทดสอบความรู้และความเข้าใจของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ อาจแบ่งเป็นทุกครึ่งปีหรือทุกปีก็ได้ เพื่อทดสอบว่าพนักงานมีการนำแนวทางที่กำหนดไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและเข้าใจมากน้อยแค่ไหน


    เป็นอย่างไรบ้างคะทุกคน จะเห็นได้ว่าการบริหารคลังสินค้าไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่เราเข้าใจว่าเป้าหมายของเรา คือการลดต้นทุนและสร้างประสิทธิภาพในการทำงานในคลังสินค้าให้มากที่สุด จากนั้นจึงเลือกใช้วิธีการ หรือแนวทางที่เหมาะกับคลังสินค้าของเรา เท่านี้คุณก็สามารถบริหารคลังสินค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วค่ะ ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต้อทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ


     ที่มา : Sgeprint

    Comments

    Popular posts from this blog

    สีพาสเทล คืออะไร โค้ดสีพาสเทลยอดนิยม!

    ขนาดกระดาษ A4 และขนาดอื่นๆที่ควรรู้!

    แปลง YouTube เป็น MP3 ง่ายนิดเดียว!