Skip to main content

กราฟิก คืออะไร มีบทบาทอย่างไร?

  • SGEPRINT

    กราฟิก คืออะไร มีบทบาทอย่างไร?

    ในปัจจุบันมีการใช้ภาพ กราฟิก ในงานทุกๆ ด้านไม่ว่า ด้านธุรกิจ งานพิมพ์ งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นมีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานในด้านการออกแบบทางด้านกราฟิก ให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้เพียงคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของตนเองได้โดยทันทีสะดวกมาก วันนี้ SGEPRINT ขอนำเสนอเกล็ดความรู้เกี่ยวกับกราฟิกมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

    SGEPRINT


    — กราฟิก และ คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึงอะไร? —

    กราฟิก หมายถึง ศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ กราฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ 

    คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพ คนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการและการใช้ภาพกราฟิก ในการนำเสนอ ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

    SGEPRINT


    — ประเภทของภาพกราฟิก มีอะไรบ้าง? —

    คอมพิวเตอร์กราฟิก 2 มิติ 👉 คือภาพ 2 มิติ ที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจประกอบด้วยภาพกราฟิกแบบแรสเตอร์ ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ที่ไม่มีการคำนวณความลึก ลวดลายฟอนต์ ฯลฯ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ ตัวอย่างเช่น การ์ตูนเรื่องพิภพยมราช ชินจัง และโดเรมอน เป็นต้น ซึ่งการ์ตูนจะเป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว(Animation) โดยจะมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าภาพปกติ

    คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ 👉 คือภาพที่สร้างขึ้นจากการจำลองโมเดล 3 มิติทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การคำนวณในด้านต่างๆ เช่น พีชคณิตเชิงเส้น ตรีโกณมิติ เพื่อหา Perspective เพื่อนำมาทำการจำลองภาพให้เหมือนจริง ซึ่งทำให้ได้ภาพมีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูน หรือโฆษณาสินค้าต่างๆ เช่น การ์ตูนเรื่อง Nemo The Bug และ ปังปอนด์แอนิเมชัน เป็นต้น


    — หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก —

    ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่าพิกเซล โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสีเมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพมี 2 ประเภท คือแบบ Raster และแบบ Vector

    • ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพ เป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
    • ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทาง คณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพ ทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่ง ภายในและการออกแบบต่างๆ 
    SGEPRINT


    — หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์ —

    • RGB เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง, สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
    • CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง , และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือหมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ
    • HSB เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Hue คือสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา Saturation คือความสดของสีโดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก Brightness คือระดับความสว่างขอสีโดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100
    • LAB เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ L เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำแต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง


    ขอบคุณบทความ
     Krukikz / Krumaew


    ที่มา : Sgeprint 

    Comments

    Popular posts from this blog

    ขนาดกระดาษ A4 และขนาดอื่นๆที่ควรรู้!

    สีพาสเทล คืออะไร โค้ดสีพาสเทลยอดนิยม!

    แปลง YouTube เป็น MP3 ง่ายนิดเดียว!