พิมพ์ UV กับ การสกรีน ต่างกันอย่างไร?
พิมพ์ UV กับ การสกรีน ต่างกันอย่างไร?
การพิมพ์ ยูวี (UV Printing) พิมพ์ UV หรือที่เรียกกันว่า เป็นระบบที่พิมพ์ลงบนวัสดุโดยตรงด้วยการใช้รังสียูวี (Ultra Violet) ฉายลงบนหมึกพิมพ์เพื่อให้หมึกแห้งติดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ซึมลงบนเนื้อผิวของวัสดุ ทำให้สีที่ออกมามีความโดดเด่น คมชัดและติดทน ซึ่งหัวพิมพ์จะมีหน้าที่พ่นหรือกระจายสีลงบนพื้นผิววัตถุเท่านั้น ถูกนำไปใช้กับการพิมพ์ออฟเซ็ตหน้าจออิงค์เจ็ทฟิลด์ต่าง ๆ
คุณสมบัติและการใช้งาน
แสง UV จากหลอด LED มีคุณสมบัติในการทำให้หมึกแห้งในทันที โดยสามารถใช้ร่วมกับระบบการพิมพ์ 4 สีได้ตามปกติ โดยให้หมึกคงสภาพเสมือนการพิมพ์บนกระดาษทั่วไป แม้ว่าจะเป็นหยดสีที่พิมพ์บนพื้นผิวที่ลื่นอย่างพลาสติกก็จะแห้งทันทีก่อนที่หมึกจะไหลไปนอกบริเวณ ทำให้งานนั้นมีความละเอียดมากขึ้นและคงทนต่อสภาพอากาศ กันน้ำ และสีซีดยาก นอกจากนี้ยังไม่สร้างสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นอันตราย, กลิ่น, หรือความร้อนที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นจุดที่พัฒนาจากระบบ UV Printing เดิมที่ต้องใช้ความร้อนสูง กินไฟ และเกิดสารระเหยที่เป็นพิษ
พิมพ์ด้วยระบบ UV ได้บนวัสดุหลายประเภทมากขึ้น สามารถนำไปพิมพ์ลงบนโลหะอย่างการทำพาวเวอร์แบงก์, งานสกรีนป้าย, พิมพ์ลงบนถุงหรือกระเป๋าพลาสติกและผ้า, วัสดุที่มีความโปร่งใส, ทำเคสโทรศัพท์มือถือ, พิมพ์บนขวดโลหะ, ลูกกอล์ฟ, สายเข็มขัดหนัง, กระเป๋าสตางค์, แฟลชไดรฟ์, แผ่นรองเมาส์, ฝากระปุกครีม, EVA โฟม, โล่รางวัลอะคริลิก, สติกเกอร์, ซิลิโคน ครอบคลุมวัสดุเกือบทุกชนิด สามารถพิมพ์รองพื้นด้วยสีขาวได้ ซึ่งการพิมพ์บนวัสดุประเภทต่าง ๆ จะต้องเลือกเครืองพิมพ์ให้เข้ากับประเภทของวัสดุด้วย ส่วนที่เหมาะสมกับ ระบบ LED UV offset printing คือ กระดาษพิเศษต่าง ๆ ซึ่งแห้งยาก หรือแห้งแล้วหมึกซึมเข้าไปในเนื้อกระดาษ จนสีซีด และกระดาษที่ปกติไม่รับหมีกเลย เช่น กระดาษเคลือบฟอยล์ ประเภทต่าง ๆ ฟอยล์เงิน ฟอยล์ทอง กระดาษฟอยล์โฮโลแกรม วัสดุประเภทพลาสติก ทั้ง PVC PE PET เนื้อใส เนื้อขุ่น รวมไปถึงวัสดุเลียนแบบกระดาษอย่าง Tyvek
ข้อดีของการ พิมพ์ UV คือ สามารถนำไปใช้กับการพิมพ์บนพื้นผิววัสดุเกือบแทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อะคริลิก แผ่นอลูมิเนียม แผ่นไม้ เป็นต้น
รู้ไหม? เทคนิค UV Curing กระบวนการเคมีของการอบแห้ง เดิมเป็นวิธีทาเล็บเจลให้แห้งเร็วที่ใช้ในการทำเล็บ แต่เพิ่งจะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมงานพิมพ์งานป้าย โบรชัวร์ขวดเบียร์ ซี่งความแตกต่างระหว่างงานพิมพ์แบบธรรมดาทั่วไปกับงานพิมพ์ยูวี คือ หมึกที่ใช้และกระบวนการที่ทำให้หมึกแห้ง และผลงานคุณภาพที่ดีกว่า 👍
การพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้นโดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ การพิมพ์นี้สามารถพิมพ์ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ สติกเกอร์ ไม้ ผ้า กระจก กระเบื้อง เซรามิค พลาสติกโลหะ เป็นต้น และหลายรูปทรง เช่น วัสดุพื้นราบ ทรงกระบอก และวัสดุรูปทรงไข่ เป็นต้น มีทั้งขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่โดยไม่จำกัด
ในปัจจุบันมีการพัฒนาการสกรีนด้วยเครื่องพิมพ์ เป็นการคัดลอกลวดลายโดยใช้ลูกยางประทับกับวัสดุที่ต้องการ เพื่อให้เกิดลวดลาย สามารถทำสกรีนได้อย่างรวดเร็ว คมชัด ระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณาต่าง ๆ แม้แต่สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น เป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้
กระบวนการพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่มีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย สามารถจำแนกออกได้ 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน (Pre-Stencil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การขึงสกรีน และการทำความสะอาดสกรีน
2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน (Stencil) สามารถสร้างได้ 2 วิธี คือสร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง (Non- Exposure) และสร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง (Exposure)
3. การพิมพ์สกรีน (Printing) แบ่งตามลักษณะการพิมพ์สกรีนได้ 3 แบบ คือ
3.1 การพิมพ์แบบสีเดียวหรือหลายสีหรือสีทึบ (Single / Multi Colour) ซึ่งสีแต่ละสีเกิด จากการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง โดยการพิมพ์ลายภาพที่เป็นแบบสีเดียวหรือหลาย ๆ สีก็ได้
3.2 การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี (Process Colour) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชุดสอดสีใช้หมึกกึ่งโปร่งแสง ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ การพิมพ์ด้วยหมึกประเภทนี้ จะเป็นการพิมพ์โดยใช้เม็คสกรีนพิมพ์ซ้อนหรือเหลื่อมกันเพื่อให้เกิดการผสมผลานกันระหว่างหมึกพิมพ์ได้สีต่าง ๆ ออกมามากมายตามต้นฉบับ
3.3 การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ (Special Effect) เป็นการพิมพ์ลงบนชิ้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วยระบบทั่ว ๆ ไป เช่น การพิมพ์วัสดุรูปทรงศรี วัสดุผิวโค้ง และวัสดุผิวขรุขระ เป็นต้น
ประโยชน์ของการสกรีน
ปัจจุบันเทคโนโลยีการสกรีนได้มีความก้าวหน้าไปมาก ทำให้หลายคนสามารถใช้ประโยชน์จากการสกรีนสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสกรีนเสื้อ สกรีนร่ม สกรีนแก้ว ถ้วยกาแฟเซรามิค สกรีนเคสมือถือ สกรีนหมอน ไปจนถึงการสกรีนกระถางต้นไม้ ซึ่งไม่ได้ใช้เพียงแค่จุดประสงค์ในการจำหน่ายอย่างเดียวเท่านั้น และยังถูกใช้เป็นของชำร่วยหรือของที่ระลึกในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ อย่างงานแต่งงาน ของชำร่วยงานศพ งานรับปริญญา หรืองานวันเกิด เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสีย ของการสกรีน แต่ละรูปแบบนั้นแตกต่างกัน ผู้ที่สนใจอยากสกรีนผลิตภัณฑ์จึงควรศึกษารูปแบบของการสกรีนแต่ละระบบให้เข้าใจก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้รูปแบบการสกรีนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของคุณนั่นเอง
ส่งท้ายกันหน่อย !
⭐การพิมพ์ยูวี และการสกรีนนั้น เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย แต่การพิมแบบยูวีจะดีกว่าตรงที่ มีความละเอียดในงานมากขึ้นและคงทนต่อสภาพอากาศ แห้งเร็วกว่าการสกรีน กันน้ำ และสีซีดยาก และใช้งานกับวัสดุได้แทบทุกชนิดและได้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพมากกว่านั่นเอง⭐
👉เทคโนโลยีการสกรีนในปัจจุบันทำให้คุณมีตัวเลือกมากมายในการสกรีนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้รูปแบบการสกรีนตามที่บทความนี้ได้แนะนำ
เพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงความต้องการภายใต้งบประมาณที่คุณกำหนดได้นั่นเอง งานดีมีคุณภาพ ต้อง SGE PRINT เท่านั้น! 👈
ขอขอบคุณ
Comments
Post a Comment